“ต้นแบบการจัดการโลจิสติกส์ในการเพิ่มผลิตภาพ เพิ่มมูลค่า และลดต้นทุน”

               เมื่อวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2555 เวลา 10.00 – 12.00 น.คุณไชยา ตรีสุวรรณ ศิษย์เก่าสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน และเจ้าของบริษัท ทรีทราน (ประเทศไทย) จํากัด บรรยายพิเศษ ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) หัวข้อเรื่อง “การจัดการ โลจิสติกส์ในการเพิ่มผลิตภาพ เพิ่มมูลค่า และลดต้นทุน” ให้ความรู้แก่นักศึกษา รุ่น 63 และ 64 สาขาวิชาการพัฒนาชีวิตและประกอบการชุมชน จัดบรรยายโดย รายวิชาการจัดการลจิสติกส์ ห่วงโซ่อุปทาน และห่วงโซ่คุณค่า ภาคเรียน ที่ 1/2565 เพื่อศึกษาต้นแบบของการจัดการลจิสติกส์ในการเพิ่มผลิตภาพ เพิ่มมูลค่า และลดต้นทุน

“พัฒนาศักยภาพการประกอบการชุมชน”

         เมื่อวันพุธที่ 5 ตุลาคม 2555 เวลา 10.00 – 12.00 น. อาจารย์ ดร.เดชรัต สุขกําเนิด อาจารย์ประจําหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ได้บรรยายให้ความรู้แก่นักศึกษา รุ่น 63, 64 และ 65 สาขาวิชาการพัฒนาชีวิตและประกอบการ ชุมชน ในหัวข้อเรื่อง “การจัดการลจิสติกส์ในการเพิ่มผลิตภาพ เพิ่มมูลค่า และลดต้นทุน” ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom) เพื่อ พัฒนาศักยภาพนักศึกษาและทักษะการเรียนรู้ในศตวSSษที่ 21 ภายใต้การเรียนวิชา การจัดการโลจิสติกส์ ห่วงโซ่อุปทาน และ ห่วงโซ่คุณค่า ภาคเรียนที่ 1/2565 กิจกรรมครั้งนี้จัดโดยหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชีวิตและประกอบ การชุมชน คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

“การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ประจําปีการศึกษา 2564”

        เมื่อวันอังคาร 11 ตุลาคม 2555 เวลา 08.30 น. ณ ห้องประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ได้มีคณะกรรมการประเมินคุณภาพ การศึกษาภายใน เข้าตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ประจําปีการศึกษา 2564 ของสถาบันฯ โดยมีคณะ ผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรของสถาบันฯ กล่าวต้อนรับและพร้อมรับการประเมินฯ กิจกSSมการดําเนินงานของคณะ ศิลปศาสตร์ และสํานักบัณฑิตศึกษา ทั้ง 5 ด้าน คือ ผลิตบัณฑิต วิจัย บริการวิชาการ ทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม และ บริหารจัดการให้มีคุณภาพ ประธานคณะกรรมการประเมินฯในครั้งนี้ ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ แนวทางในการประเมิน และดําเนิน การตรวจสอบเอกสารหลักฐาน และการสัมภาษณ์ผู้แทนระดับส่วนงานต่างๆ จากนั้นได้นําเสนอรายงานผลการประเมิน พร้อม ข้อเสนอแนะ เพื่อการปรับปรุงการดําเนินงานตามภารกิจของสถาบันฯ ให้เกิดพลที่อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อคุณภาพการจัด การศึกษาต่อไป

“ประชุมปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านบริหารการจัดการศึกษา ปี 2565

           เมื่อวันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2555 เวลา 09.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จํานงค์ แรกพินิจ อธิการบดีสถาบันการเรียน รู้เพื่อปวงชน กล่าวเปิดการประชุมปฏิบัติการและชี้แจงนโยบาย/แนวทางการบริหารและจัดกระบวนการเรียนรู้ของสถาบันฯ การติดตามประเมินพลศักยภาพและข้อจํากัดของโครงงานประกอบการชุมชนเพื่อการประกันคุณภาพ ให้กับประธาน ศรป. พอ.ศรช. และอาจารย์ประจํา จากนั้น อาจารย์ ดร.ศักดิ์พงศ์ ทอมทวน คณบดีคณะศิลปศาสตร์ ได้กล่าวชี้แจงแนวทางการ บริหารและจัดกระบวนการเรียนรู้ของคณะศิลปศาสตร์ และอาจารย์ศุภกร คุรการเกษตร ประธานหลักสูตรศิลปศาสตร์บัณฑิต ได้กล่าวชี้แจงกระบวนการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร ในภาคบ่ายมีการแบ่งกลุ่มวิชาพัฒนาชีวิต 1-5 เพื่อทบทวน “วิธีการและเครื่องมือ” กรอบโครงงานประกอบการชุมชน ให้สามารถปฏิบัติงานในทิศทางที่หลักสูตรและคณะศิลปศาสตร์ต้อง การอย่างมีประสิทธิภาพ ในการประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นในวันอังคารที่ 18 ถึง วันพุธที่ 19 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประยงค์ Sณรงค์ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

“ค่ายฝึกอบรมการทําสื่อคลิปของชุมชนหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินในพื้นที่ ปปส. ภาค ๗

        เมื่อวันที่ 15-16 ตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ร่วมกับสํานักงานป้องกันและปราบปรามยา เสพติด ภาค ๗ (ปปส.ภ.๗) ได้จัดทําโครงการค่ายฝึกอบรมการทําสื่อคลิปของชุมชนหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินในพื้นที่ ปปส.ภาค ๗ ณ บ้านครูปูรีสอร์ทอัมพวา อําเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งมีกลุ่มเยาวชนและพี่เลี้ยงจากกองทุนแม่ของ แผ่นดินจากจังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี เข้าร่วมโครงการในรอบนี้ จํานวน 40 คน โดยมีวัตถุประสงค์ การฝึกอบรม เพื่อฝึกอบรมเยาวชนและกรรมการหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินด้านทักษะและสร้างสื่อคลิปของชุมชนสําหรับ การเผยแพร่ และเพื่อฝึกเยาวชนและกรรมการหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินด้านทักษะการบริหารจัดการสถานีสื่อออนไลน์ทาง สังคมของชุมชน โดยมี อาจารย์ ดร.สามารถ จันทร์สูรย์ ผู้ช่วยอธิการบดี เป็นผู้ดําเนินรายการพร้อมทั้งทีมวิทยากรผู้เชี่ยว ชาญด้านการเขียนบท กํากับและสร้างภาพยนตร์ ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ อาทิ พศ.ประภัสสร เลิศอนันต์ อาจารย์ปรัชญา ปิ่นแก้ว อาจารย์ณัฏฐพล อมรทัต และอาจารย์ธรรมรักษ์ กมุทมาโนชญ์ มาร่วมบรรยายและฝึกปฏิบัติการพลิตสื่อ วิธีการ ถ่ายทํา เทคนิคการตัดต่อ และเพยแพร่สู่สังคมออนไลน์

error: Content is protected !!