

ชื่อหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนา
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2568)
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย
ชื่อเต็ม : ศิลปศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมการพัฒนา)
ชื่อย่อ : ศศ.บ. (นวัตกรรมการพัฒนา)
ภาษาอังกฤษ
ชื่อเต็ม : Bachelor of Arts (Development Innovation)
ชื่อย่อ : B.A. (Development Innovation)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
120 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
ระดับคุณวุฒิ ปริญญาตรี
ประเภทหลักสูตรสหวิทยาการ
ประเภทของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ 4 ปี
วัน – เวลาในการดำเนินการจัดการเรียนรู้
วันเสาร์ อาทิตย์ เวลา 8.30 -17.30 น. และวัน-เวลาราชการปกติ
ภาคเรียนที่ 1 ระหว่างเดือน สิงหาคม – พฤศจิกายน
ภาคเรียนที่ 2 ระหว่างเดือน ธันวาคม – มีนาคม
ภาคฤดูร้อน ระหว่างเดือน เมษายน – กรกฎาคม จำนวนไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์
สถานที่จัดการเรียนการสอน/แหล่งเรียนรู้
สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ตำบลบางคนที อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
ศูนย์บริการการศึกษาในสังกัดคณะศิลปศาสตร์ และพื้นที่เรียนรู้ปฏิบัติงาน
การเทียบโอนหน่วยกิตรายวิชา
นักศึกษาสามารถขอประเมินเทียบความรู้และประสบการณ์รายวิชา และโอนผลการเรียนสำหรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ตามข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศที่เกี่ยวข้องตามที่สถาบันกำหนด ทั้งนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน (มหาวิทยาลัยชีวิต)
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพจากสถาบันการศึกษาที่
กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ หรือการศึกษาอื่นที่เทียบเท่า
2. ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
3. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือ ถูกไล่ออกจากสถาบันอุดมศึกษาใดมาก่อนเนื่องจากถูกลงโทษ
ทางวินัยร้ายแรง
4. เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย ปฏิบัติเหมาะสมกับสภาพความเป็นนักศึกษาและสามารถปฏิบัติตน
อยู่ในระเบียบวินัยของสถาบันและสังคม
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. อาชีพอิสระ/ผู้ประกอบการ
2. ข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานของรัฐ ตามที่ ก.พ. กำหนด
3. ครูและครูผู้ช่วยตามที่สำนักงานข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ความเห็นชอบ
4. พนักงานองค์กรเอกชนและองค์กรพัฒนาเอกชน
5. ข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น นายก อบต. และสมาชิกสภา อบต. นายกเทศมนตรีและสมาชิก
สภาเทศบาล นายก อบจ. และสมาชิกสภา อบจ.
6. ผู้บริหาร หรือผู้นำองค์กรภาคประชาชน / กลุ่ม / ชมรม / สมาคม / มูลนิธิ / สหกรณ์ /วิสาหกิจชุมชน
ผู้บริหารองค์กรภาคประชาสังคม และผู้บริหารองค์กรพัฒนาเอกชน
ระดับปริญญาตรี จัดการเรียนการสอนด้วย “สามเสาหลัก” ของการเรียนรู้ ดังนี้
สถาบันจัดการเรียนการสอนตามเนื้อหา/ประสบการณ์/อาชีพ/ความสนใจ/เป้าหมายชีวิตของผู้เรียนเป็นสำคัญ หรือจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียนซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ดังนั้น ผู้เรียนในชั้นเดียวกันจึงไม่จำเป็นต้องเรียนเหมือนกัน โดยแต่ละคนต้องนำเนื้อหา/ประสบการณ์/อาชีพ/ความสนใจ/เป้าหมายชีวิตมาพัฒนาเป็น “โครงงาน” (project) เรียนรู้และลงมือปฏิบัติเพื่อให้โครงงานประสบความสำเร็จระหว่างเป็นนักศึกษาเพื่อสร้างรายได้ระหว่างเรียน และมีอาชีพที่มั่นคงหลังสำเร็จการศึกษา
สถาบันเป็นผู้กำหนดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษาโดยใช้โครงงานของนักศึกษาแต่ละคนเป็นตัวกำหนด เพื่อให้ทุกคนสามารถพัฒนาตนเองเป็นผู้ประกอบการชุมชนตามโครงงานของนักศึกษากระบวนการดังกล่าวประกอบด้วย การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ การตัดสินใจ การเรียนรู้จากแบบอย่างที่ดี การลงมือปฏิบัติ และการสังเคราะห์ความรู้
สถาบันได้พัฒนาคณาจารย์ให้มีความรู้ความสามารถใน “การสอนงาน” หรือเป็น “โค้ช” (coach) แทนการสอนหนังสือ อาจารย์จะเป็นผู้ชี้แนะนักศึกษาให้สามารถนำโครงงานของตนไปปฏิบัติได้จริงและเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ
รับรองคุณวุฒิของผู้สำเร็จการศึกษา สำนักงาน ก.พ.
